fbpx
Home » Fujifilm » รีวิวข้อดีข้อเสีย จากการใช้กล้อง Fujifilm GFX50S II
Fujifilm GFX50S II รีวิวกล้องในมุมมองผู้ใช้งานจริง

รีวิวข้อดีข้อเสีย จากการใช้กล้อง Fujifilm GFX50S II

67 views

ขอเล่าแบบตรงไปตรงมา Fujifilm GFX50S II เป็นกล้องที่มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ก่อนซื้อกล้องส่วนตัวดูรีวิวและรู้อยู่ก่อนแล้วว่ากล้อง GFX เซ็นเซอร์ระดับมีเดียมฟอร์แมทจะมีข้อจำกัดอะไรบ้าง

แต่พี่แม็กนั่มเองตัดสินใจที่จะซื้อกล้อง GFX50S II มาใช้งาน เพราะมีสิ่งที่อยากได้มากๆคือ “ไฟล์ RAW” ไฟล์ภาพมันดีมากๆ ดีอย่างไรเดี๋ยวดูรีวิวนี้

กล้อง Fujifilm GFX50S II และเลนส์ที่ใช้งาน
กล้อง Fujifilm GFX50S II และเลนส์ที่ใช้งาน
กล้อง Fujifilm GFX50S II และเลนส์ที่ใช้งาน
กล้อง Fujifilm GFX50S II และเลนส์ที่ใช้งาน

ข้อดีกล้อง Fujifilm GFX50S II

  • อย่างแรกคือ “ไฟล์ระดับมีเดียมฟอร์แมท” กล้องที่เล็กกว่าไม่สามารถทำได้เทียบเท่า เพราะเซ็นเซอร์มีขนาดใหญ่จึงทำให้ไฟล์มันดีมากๆ แต่งรูปได้ง่ายสุดๆ โดยเฉพาะในช่วง Blue Hour ช่วงที่พระอาทิตย์ตกดินแต่ยังฟ้ายังเป็นสีน้ำเงิน ไปลองถ่ายรูปมาแต่งแล้วยังทำออกมาได้ดีมากๆ
  • ได้มุมมองเลนส์ใหม่ ถ้าเคยใช้กล้อง APS-C เอาเลนส์ตัวเดียวกันไปใส่กล้อง Fullframe จะเห็นว่ามุมรับภาพมันกว้างขึ้น แต่ถ้าเอาไปใช้กับกล้องมุมรับภาพก็จะกว้างขึ้นอีก สำหรับ Fujifilm GFX จะให้มุมรับภาพ = X0.79 เช่น ถ้าใช้เลนส์ 85mm ก็จะได้มุมภาพเท่ากับ 67mm
  • เอาเลนส์ EF มาใช้ได้ อันนี้ถูกใจมากๆ ส่วนตัวมีเลนส์ Sigma ที่เป็นเมาท์ EF อยู่ 4 เลนส์ เอามาใช้กับ GFX ได้หมดเลย แต่ต้องต่อผ่านอะแเดปเตอร์
  • ส่วนตัวอยากได้เลนส์ที่อยู่ระหว่าง 50mm กับ 85mm แต่ยังไม่มีใครทำเลย ยกเว้นจะใช้เลนส์ซูมถึงจะมีระยะนี้ให้เลือกใช้ แต่มาใช้กล้อง GFX ใส่เลนส์ Sigma 85mm f1.4 ได้มุมภาพที่ถูกใจมากๆ มันไม่แคบจนเกินไปทำให้ไม่ต้องถอยห่างจากแบบมาก
  • ไฟล์ 50 ล้าน บนกล้อง GFX ให้รายละเอียดที่ดีมากๆ ขนาดภาพ 6152×8256 ถ่ายมาครอปใช้งานได้สบายๆ
  • มีฟิล์มสี Film Simulation อยู่ในไฟล์ RAW เป็นสิ่งที่กล้องค่ายอื่นไม่มี ที่สำคัญเป็นสีของ Fujifilm แท้ๆเลยนะ
  • การตั้งค่าจะคล้ายๆกับกล้อง Fujifilm ที่เป็น APS-C ฉะนั้นก็จะตั้งค่าฟิล์มได้คล้ายๆกัน โดยเฉพาะสายจบหลังกล้องเขาก็ตั้งฟิล์ม Kodak Portra, Kodakchrome, Agfa Ultra และมีสูตรฟิล์มอีกเป็นร้อย

ข้อเสียกล้อง Fujifilm GFX50S II

  • ถ่ายต่อเนื่องได้สูงสุด 3 ภาพต่อวินาที ทำให้กล้องตัวนี้ เหมาะกับการถ่ายงานแค่บางประเภทเท่านั้น งานที่จำเป็นต้องถ่ายรัวๆคือจบ
  • โฟกัสช้า และเมื่อต่อผ่านอะแดปเตอร์ บางทียิงเข้าแล้วแต่พอมาเปิดที่คอมะเห็นว่าหลุดโฟกัส มีภาพแบบนี้หลายชอต คนใช้ต้องใจเย็นๆค่อยๆโฟกัส ไม่งั้นภาพจะเสียเยอะli
  • ทำงานกลางในช่วงอุณภูมิสูงไม่ได้ หน้าร้อนประมาณ 37 องศาขึ้นไป กล้องขึ้นเตือนอุณภูมิสูงสีแดงบ่อยมาก ในรอบ 10 ปีนี้ผมใช้กล้องมา 12 ตัว ไม่เคยถ่ายรูปแล้วกล้องร้อนขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเพราะเซ็นเซอร์มันใหญ่ และคิดว่าน่าจะเป็นปัญหาเฉพาะช่วงหน้าร้อน เพราะมีวันที่อากาศเย็นประมาณ 36-34 องศา เอาไปถ่ายรูปกลางแจ้ง กล้องขึ้นเตือนสีเหลืองแค่ครั้งเดียว (ถือว่าไม่น่าห่วง)
  • ด้วยความที่ไฟล์มันใหญ่ต้องปรับวิธีการทำงาน แต่งรูป ส่วนตัวใช้ Macbook Pro M2 แต่งรูปไฟล์ขนาด 100MB ชิลๆ เครื่องอื่นต้องดูก่อนว่าไหวมั้ย ฉะนั้นซื้อกล้องไม่ใช่แค่เรื่องของกล้อง อุปกรณ์แต่งรูปไม่ดีพอมันก็น่าหงุดหงิด
  • เคยใช้ iPad Pro M1 แต่งรูป มันแต่งได้นะ ปัญหาเดียวคือ Lightrooom มันจะซิ้งค์ไฟล์แบบออนไลน์ ทำให้เสียเน็ตอัพโหลด และส่งผลให้โหลดไฟล์ช้า (แต่ตอนแต่งรูปไม่ได้มีปัญหา)

รีวิวในส่วนของประกสบการณ์ใช้งานเล็กๆน้อยๆ

รีวิวข้อดีข้อเสีย จากการใช้กล้อง Fujifilm GFX50S II

ซูมขนาดนี้ยังคมชัด ภาพจากเลนส์ Sigma 85mm f1.4 ไม่ใช่เลนส์ Native ของฟูจิ และไม่ใช่เลนส์สำหรับกล้องมีเดียม ยังถ่ายภาพบน Fujifilm GFX50S II ได้ดีเยี่ยม

จริงผมอยากได้เลนส์ของ Fujifilm มากกว่า ตัวที่อยากได้มี 80mm f1.7 กับ 63mm f2.8 แต่ต้องเก็บเงินอีกนานเลย

รีวิวข้อดีข้อเสีย จากการใช้กล้อง Fujifilm GFX50S II

แต่งรูปไฟล์ RAW ได้ดีมากๆ ไม่ว่าจะเป็นในที่แสงน้อยหรือย้อนแสง ปกติฟูลเฟรมก็ทำได้ดีแล้ว มาเป็นมีเดียมฟอร์แมทดีขึ้นไปอีก

ส่วนตัวนะไฟล์ที่ดีคือไฟล์ที่แต่งรูปง่าย ขอแค่นี้ก็พอ แต่ไฟล์กล้อง GFX มันจะได้ทั้งเรื่องของการขุดและแต่งรูปง่าย มันดีที่มี Film Simulation มาให้

รีวิวข้อดีข้อเสีย จากการใช้กล้อง Fujifilm GFX50S II

ลองเอากล้องไปถ่ายรูปรับงานมาแล้ว ชอบมุมภาพมากๆ มันไม่มีมุมนี้ในกล้องฟูลเฟรม

อยากภาพนี้ใช้เลนส์ 85mm เทียบกับฟูลเฟรมคือ 67mm แต่ต่อให้ใช้กล้องฟูลเฟรมและเลนส์ 67mm ก็ได้ภาพไม่เหมือน เพราะ

  • การดึงฉากหลังของกล้อง GFX ใช้เลนส์ 85mm ก็ดึงฉากหลังแบบ 85mm (แม้ว่ามุมภาพจะเป็นแบบ 67 ก็ตาม) ต่างจากการช้ฟูลเฟรม ถ้าใช้เลนส์ 67mm มันก็จะดึงฉากหลังแบบ 67mm
  • แม้ว่ามุมภาพจะเปลี่ยน แต่ได้ภาพที่ละลายฉากหลังเท่าเดิมคือ 85mm f1.4 ถ้าใช้ฟูลเฟรมก็เทียบเท่ากับใช้เลนส์ 67mm f1.1 ซึ่งไม่มีเลนส์นี้ในโลก ยิ่งเป็นเลนส์ซูมทำได้มากสุดคือ F2 เท่านั้น

📌 จุดสำคัญอีกอย่างคือ ไฟล์ภาพดีก็ประหยัดเวลาทำงาน แต่งรูปแป๊บเดียวเสร็จ อย่างภาพลูกค้าชุดนี้ 140 รูปทำเสร็จภายในคืนเดียวพร้อมรีทัชรูปให้อีก และไม่ได้ทำลวกๆนะ ไฟล์มันดีไง

รีวิวข้อดีข้อเสีย จากการใช้กล้อง Fujifilm GFX50S II

ปกติเป็นคนไม่ชอบถ่ายภาพในช่วง Blue Hour แต่กล้อง Fujifilm GFX50S II ถ่ายรูปกับแสงช่วงนี้แล้วทำภาพออกมาได้ดีมาก

ยังเหลืองานถ่ายรูปกลางคืน ที่ยังไม่ได้ลอง แต่เดี๋ยวก็คงได้ลอง เรื่องไฟล์ไม่มีปัญหาหรอก จะมีก็แต่การโฟกัสในที่แสงน้อย ต้องมารีวิวกันอีกที

รีวิวข้อดีข้อเสีย จากการใช้กล้อง Fujifilm GFX50S II

สรุปให้กับคนที่กำลังอยากได้กล้อง Fujifilm GFX ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน 50R 50S 100S ฯลฯ แม้ว่าสเปคมันจะแตกต่างกัน แต่มีจุดร่วมเหมือนกันคือ “มีเดียมฟอร์แมท” เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ มุมมองภาพใหม่ และมีโทนฟิล์ม

สเปคอื่นๆบอกตามตรงว่า กล้องเล็กยังทำได้ดีกว่า อย่างกล้อง Fujifilm X-E4 แม้ว่าสเปคมันจะไม่ได้ดีมาก แต่ก็ยังโฟกัสและถ่ายรัวได้ดีกว่า GFX50S II มากๆ

ดังนั้นถ้าจะขยับมาเล่นกล้องมีเดียมฟอร์แมท ต้องรู้ก่อนว่าต้องการอะไรจากกล้อง และงานถ่ายรูปเป็นลักษณะไหน มันเป็นกล้องที่มีคาแรคเตอร์สูง รวมทั้งตัวคนใช้เองด้วย ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อกล้อง ต้องศึกษาดีๆ

Facebook Comments

author avatar
คเณศ อธิรัตนกรัณฑ์
พี่แม็กนั่ม ช่างภาพอุดรธานี รับงานถ่ายรูปนักเรียนที่อุดรพิทยานุกูล ถนัดใช้กล้อง Fujifilm Canon Sony และรีวิวเลนส์ต่างๆ
Scroll to Top